Update : จป เทคนิค มีหน้าที่อะไรบ้าง ตามกฎกระทรวง 2565

by admin

ความปลอดภัยในการทำงานจะเกิดขึ้นได้ทุกคนในสถานประกอบกิจการต้องร่วมมือกันรับผิดชอบร่วมกันตามบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่สามารถทำได้ถึงแม้ว่าแต่ละสถานประกอบกิจการจะมีผู้ดูแลงานด้านความปลอดภัยโดยตรงอย่างเช่นจปเทคนิคจปเทคนิคขั้นสูงและจปวิชาชีพอยู่แล้วก็ตามแต่หากขาดความรับผิดชอบร่วมกันของผู้ที่อยู่ในสถานประกอบกิจการก็อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้เช่นกัน

อย่างที่ทราบกันว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะมีอยู่ 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ ซึ่งทั้ง 3 ระดับ เป็นผู้ที่ดูแลงานด้านความปลอดภัยโดยตรง มีหน้าที่หลักคือดูแลงานด้านความปลอดภัยเหมือนกัน แต่ก็มีหน้าที่แตกต่างกันตามระดับด้วยเช่นกัน ซึ่งกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรด้านความปลอดภัยเอาไว้ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันวันนี้เราจะมาดูหน้าที่ของ จป เทคนิคกันว่ากฎกระทรวงฉบับดังกล่างกำหนดหน้าที่ของ จป เทคนิค ไว้ว่าอย่างไรบ้าง

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  2. วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
  3. แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  4. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
  5. รวบรวมสถิติและจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
  6. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

จากหน้าที่ของ จป เทคนิค ที่กล่าวไปข้างต้น เป็นหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น แต่ จป เทคนิค ยังต้องทำหน้าที่อื่นๆ

ด้านความปลอดภัยอีกด้วย ซึ่งหากเป็น จป เทคนิค เพียงคนเดียวในสถานประกอบกิจการก็จะต้องดูแลงานด้านความปลอดภัยทั้งหมด คอยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้งานด้านความปลอดภัยภายในสถานประกอบกิจการเดินข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จป เทคนิค มีหน้าที่ทำงานร่วมกับ จป ระดับอื่นๆ ภายในสถานประกอบกิจการ เช่น จป หัวหน้างาน จป เทคนิคขั้นสูง และ จป วิชาชีพ โดยภายใต้การกำกับดูแลของ จป บริหาร

แต่โดยทั่วไปแล้ว จป เทคนิคมักจะทำงานตามโครงการก่อสร้างมากกว่าทำงานในสถานประกอบกิจการ แต่หากเลือกที่จะเป็น จป เทคนิค ประจำโครงการก่อสร้างแล้วจะต้องมีความอดทนมากกว่าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะงานจะหนักกว่า เน้นการควบคุมหน้างาน ตากแดด ตากลม พูดง่ายๆ ว่าคอยตรวจสอบความปลอดภัยในหน้างาน ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ หากพบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ในสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ จะได้รีบแก้ไขก่อนที่จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น

เรียกได้ว่า จป เทคนิค เปรียบเสมือนผู้คุมงานคนหนึ่งก็ว่าได้ และด้วยสภาพการทำงานในโครงการก่อสร้างมีสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้มากมาย และบวกกับพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานที่อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยได้อยู่เสมอ หาก จป เทคนิค คอยดูแลความปลอดภัยอยู่หน้างาน ผู้ปฏิบัติงานก็จะเกรงใจไม่กล้าที่จะละเลยต่อกฎระเบียบด้านความปลอดภัยต่างๆ และส่งผลให้โอกาสการเดิอุบัติเหตุลดลงตามไปด้วย แต่หากเลือกเป็น จป เทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรมลักษณะการทำงานก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ว่าจะทำงานในลักษณะไหนหรือประเภทสถานประกอบกิจการแบบใด ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานสำหรับทุกคน

สรุป

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค หรือ จป เทคนิค เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะ มีหน้าที่ดูแลงานด้านความปลอดภัยภายในสถานประกอบกิจการที่ตนทำงานอยู่โดยทำงานร่วมกับ จป ระดับต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับทุกคนภายในสถานประกอบกิจการ

You may also like

บริษัท เซฟสิริ (ประเทศไทย) จำกัด

ปทุมธานี 

ที่อยู่ 98/16 หมู่ 18 ถนนเชียงราก ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 (TU dome plaza ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต) ชั้น 3

T : 091 887 5136 (อบรม จป)

เพิ่มเพื่อน

ข้อมูล Update

เรื่องราวล่าสุด

©2023 อบรม จป ภาคกลาง, A Media Company – All Right Reserved. Designed and Developed by Safety Member