ทำความรู้จัก : จป เทคนิคคือใคร ทำงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง

by admin

การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาจต้องเจอสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอยู่รอบตัวหากไม่มีผู้ที่ดูแลงานด้านความปลอดภัยภายในสถานประกอบกิจการก็อาจจะส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานได้ซึ่งบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลงานด้านความปลอดภัยมีอยู่หลายส่วนด้วยกันวันนี้เราจะมาพูดถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือ จป. นั่นเอง

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือที่เรียกกันว่าจปมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันได้แก่

  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง ซึ่งจะประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน และระดับบริหาร
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ ซึ่งจะประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ

ซึ่งวันนี้เราจะพูดถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคหรือที่เรียกกันว่าจปเทคนิคนั่นเองโดยจปเทคนิคเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่งเช่นเดียวกับจปเทคนิคขั้นสูงและจปวิชาชีพแต่มีคุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปซึ่งจะขออธิบายว่าจปเทคนิคคือใครดังต่อไปนี้

นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวน 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คน ต้องจัดให้มี

จป เทคนิค เพื่อปฏิบัติหน้าที่ด้านความปลอดภัยประจำสถานประกอบกิจการ ภายใน 180 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบตามจำนวน ซึ่งในส่วนของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 2 มีสถานประกอบกิจการจำนวน 49 ประเภทสถานประกอบกิจการด้วยกัน โดยสามารถดูรายละเอียดได้จากบัญชีท้ายกฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 โดยกำหนดไว้ว่า จป เทคนิคจะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

ซึ่งเมื่อดูจากจำนวนลูกจ้างของสถานประกอบกิจการที่ต้องมีจปเทคนิคนั้นจะเป็นสถานประกอบกิจการขนาดเล็กเพราะกำหนดจำนวนลูกจ้างไว้ที่ 20 คนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 50 คนเท่านั้นเพราะเมื่อไหร่ที่จำนวนลูกจ้างเกินจากที่กำหนดไว้จะต้องเปลี่ยนเป็นจปเทคนิคขั้นสูงหรือจปวิชาชีพขึ้นอยู่กับจำนวนลูกจ้างที่เพิ่มขึ้นด้วย

โดยการขึ้นทะเบียนจปเทคนิคนายจ้างจะต้องทำเอกสารแต่งตั้งลูกจ้างที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดพร้อมหลักฐานไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งและในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่นายจ้างต้องแจ้งการพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่ด้วยเช่นกัน

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นจปเทคนิคจัดเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะซึ่งถือเป็นบุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงานโดยตรงและเป็นผู้ที่ดูแลงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการที่ตนทำงานอยู่จึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงเพื่อให้มีความรู้ไปพัฒนาและปรับปรุงงานด้านความปลอดภัยให้ดีขึ้น

เมื่อมีการอบรมหรือการพัฒนาความรู้แล้วนายจ้างจะต้องแจ้งผลการดำเนินการอบรมหรือพัฒนาความรู้ดังกล่าวต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแบบการแจ้งการฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องการฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติม

สรุป

จป เทคนิค เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะมีหน้าที่ดูแลงานด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการโดยตรงจึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมหรือการพัฒนาความรู้เป็นประจำเพื่อให้สามารถทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและจปเทคนิคจะต้องส่งรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค 2 ครั้งโดยครั้งแรกภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 มิถุนายนและครั้งที่ 2 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี

You may also like

บริษัท เซฟสิริ (ประเทศไทย) จำกัด

ปทุมธานี 

ที่อยู่ 98/16 หมู่ 18 ถนนเชียงราก ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 (TU dome plaza ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต) ชั้น 3

T : 091 887 5136 (อบรม จป)

เพิ่มเพื่อน

ข้อมูล Update

เรื่องราวล่าสุด

©2023 อบรม จป ภาคกลาง, A Media Company – All Right Reserved. Designed and Developed by Safety Member